วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

มิติเวลา กับอ่านความฝันของไอน์สไตน์

มิติของเวลา ก่อนนอนหลับ น่าจะอ่านความฝันของไอน์สไตน์

เมื่อ ปี พ.ศ.2548 ที่ผ่านเลย บางคนอาจจะไม่ทราบว่า ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ มีอายุครบ 100 ปีแล้ว แม้ว่า เวลาจะยาวนานขนาดนั้น แต่การคิดทฤษฎีของไอน์สไตน์ ยังคงเป็นเรื่องน่าสนใจเสมอมา และความฝันของไอน์สไตน์ (Einstein’s Dreams) หนังสือเล่มนี้ ชวนเชิญให้นึกถึง นักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเคยพูดไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ด้วยคำพูดนี้ ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆคน รวมทั้ง น่าจะเป็นเหตุให้ “อลัน ไลต์แมน” (Alan Lightman) อาจารย์สอนฟิสิกส์ และเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (MIT) เกิดสร้างจินตนาการนวนิยาย “ความฝันของไอน์สไตน์” ความฝันของตัวละครที่ชื่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์) จึงเต็มไปด้วยจินตนาการถึงโลกและเวลา ในรูปแบบหลากหลาย โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการทางฟิสิกส์ และการเขียนนวนิยายแนวเหนือจริง

โครงเรื่องของนวนิยาย ผูกร้อยทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์อยู่ในฉากและช่วงเวลาใด มันมีการเน้นบอกไว้ว่า ช่วงเวลาใด และสลับฉากของนวนิยาย ในเรื่องราวความฝันอันเกี่ยวกับตัวของไอน์สไตน์ โดยเนื้อเรื่องกลับเป็นความพยายามของผู้เขียนนวนิยาย ที่จินตนาการค้นลึกเข้าไปในความคิดของไอน์สไตน์ ในช่วงที่เขาคร่ำเคร่งหมกมุ่นอยู่กับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่ง “เขาฝันมากมาย ฝันเรื่องกาลเวลา ความฝันเข้าเกาะกุมงานวิจัยของเขา ฉีกทึ้งเขา กลืนกินเขา จนบางครั้งไม่รู้ว่าตัวเองหลับหรือตื่นอยู่”

ซึ่งผมขอบอกว่า นวนิยาย ความฝันของไอน์สไตน เขียนเรื่อง "สลับฉาก" ไปๆมาๆ ได้แปลกประหลาด ทำให้คนอ่าน มึนงง กับโลกแห่งความฝันได้เช่นกัน ระหว่างความฝันของไอน์สไตน์ และเรื่องราวชีวิตของเขา ... ผมเก็บเนื้อความ มาเล่าสั้นๆ โดยที่คนเขียน สมมติปรากฏการณ์เกี่ยวกับโลก-เวลา ดังนี้

โลกคนเห็นภาพอนาคตชั่วพริบตา
โลก ที่คนจะแลเห็นภาพอนาคตวาบขึ้นมา ชั่วแปลบ สำหรับคนที่เห็น ภาพอนาคตตัวเอง นี่คือโลกของความสำเร็จ อันแน่นอน สำหรับคนที่ไม่เห็นอนาคต นี่คือโลกอัน เอื่อยเฉื่อยจะเข้าเรียนมหา'ลัย โดยไม่รู้อาชีพในอนาคต

ดังนั้น โลก แห่งฉาก ภาพอนาคต วาบขึ้น ชั่ว แวบ โลกนี้ การเสี่ยงจะไม่เกิดขึ้น บรรดาคนมองเห็นอนาคต ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงอะไร ส่วนผู้ยังไม่เห็น..ก็รอคอยภาพนิมิต โดยไม่เสี่ยงว่าจะ ทำอะไร (จุดนี้ ทำให้ผม นึกถึงการ์ตูน ที่ผู้เขียนคือ คนเขียนโดราเอมอน เขียนงานเรื่องการ์ตูนแนวนี้สั้นๆไว้ การตัดสินใจ ทีจะ “เลือก” กับชีวิตในอนาคต)
โลกแห่งฉาก ภาพอนาคต มีอยู่บ้าง ที่เห็นภาพ อนาคต แต่ทำเพื่อ ปฏิเสธ มันทุกอย่าง หญิงสาวปล่อยตัว ให้ตัวเองหลงรักชายคนหนึ่ง แม้ว่าจะเห็นภาพ อนาคตว่าจะได้แต่งงาน กับชายคนอื่น ....
ใครเหนือกว่ากันในโลกนี้ คนเห็นอนาคตแล้ว ใช้ชีวิตแบบเดียว หรือ คนไม่เห็นอนาคต และเฝ้ารอคอย ที่จะใช้ชีวิต หรือ คนที่ปฏิเสธอนาคตแล้ว ใช้ชีวิตสองแบบ

เวลา
นวนิยายเรื่อง นี้ยังพูดถึง เรื่อง หากเวลาไม่ใช่ปริมาณ แต่เป็นคุณภาพ ที่ชั่วขณะหนึ่ง คุณ อยู่กับใครสักคน ชั่วกาลนาน
โลก คนมีชีวิต แค่วันเดียว
โลก ที่เวลาไม่ต่อเนื่อง
โลก ที่ปราศจากอนาคต คือ การจินตนาการ ถึง คนที่ไม่สามารถ คิดเกี่ยวกับอนาคต นั่นคือไม่มีใคร่ครวญ ต่อผลของการกระทำได้ เพราะฉะนั้นบางคน จึงหมดเรี่ยวแรง ไม่ยอมทำอะไร อยู่บนเตียงอย่างเดียว
โลก ที่มีชีวิตนิรันดร์ หละ เป็นเช่นไร ? ซึ่งคนเขียนได้จินตนาการ สร้างเรื่องผูกกับทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ เรื่องเวลา ได้อย่างมันส์

ผมชอบเรื่อง โลกปราศจากความทรงจำ ในบทหนึ่งของนวนิยายนี้ เล่าว่า
ทุกคนมีคัมภีร์ชีวิตของแต่ละคน ชาย-หญิง ผู้สูงอายุ อาจจะอ่านหน้าต้นๆ เพื่อรู้เรื่องตัวเองสมัยวัยเยาว์ หรือ อาจจะอ่านตอนจบเพื่อรู้เรื่องตัวเองในช่วงปีหลังๆ

สุดท้ายความฝันของไอน์สไตน์ ปรากฏในเวลาของชีวิตจริงๆของเขา “สร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ คือ ทฤษฎีสัมพันธภาพ” ซึ่งไอน์สไตน์ กว่าจะตีความสำเร็จ ก็หมกมุ่น กับหลากหลายฝัน และสร้างความคิดอันเปลี่ยนแปลงโลก

นวนิยายความฝันของไอน์สไตน์ สำหรับตัวของผม ทำให้นึกถึงการจินตนาการโลก ในระบอบการเมืองต่างๆ ในนวนิยายปรัชญาการเมือง เขาเล่าเรื่องว่า การิทัต ท่องไปในระบอบการเมืองต่างๆ แล้ว เผยจุดอ่อนของประชาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม ฯลฯ ให้เห็นปรากฏต่อสายตาของผู้อ่าน ซึ่งนวนิยายทำหน้าที่ให้อารมณ์ ความคิด และที่สำคัญ คือ จินตนาการของเรา จะเลือกดำเนินชีวิตแบบใด

แล้วคุณ จะมีเวลากับความฝัน จินตนาการของเราเอง ต่อโลกนี้แบบใด?
ดังนั้น คุณลองอ่านความฝันของไอน์สไตน์ เผื่อว่า จะเกิด จินตนาการ มากมาย


อรรคพล สาตุ้ม

1 ความคิดเห็น: