วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาวัฒนธรรมทางการค้า กรณีบทบาทหอการค้าเชียงราย ในลุ่มน้ำโขง

การพัฒนาวัฒนธรรมทางการค้า กรณีบทบาทหอการค้าเชียงราย ในลุ่มน้ำโขง[1]

อรรคพล สาตุ้ม

1.บทนำ
พัฒนาการของหอการค้าจีนก่อตัวขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ทางการค้าของมวลสมาชิก ลักษณะการรวมตัวของหอการค้าจีน(เปลี่ยนชื่อตามกาลเวลา) มีหลักการทั่วไปคล้ายคลึงกับหอการค้านานาชาติ[2] และหอการค้าก็ได้สามารถเข้าไปใช้อำนาจต่อระบบราชการได้ และมีนโยบายการจัดตั้งสาขาของหอการค้า กระจายไปทุกแห่ง ที่มีชุมชนคนจีนตั้งอยู่ในแต่ละแห่ง ซึ่งคนจีน คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย มีทั้งไหหลำ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จำนวนมาก

มีคนกล่าวว่าเชียงรายเจริญขึ้น และมีการแพร่กระจายของชาวจีน ที่มีอิทธิพลทางการค้า บริเวณนั้นจำนวนมาก จนกระทั่งผู้ไปพบเห็นกลัวว่าชาวจีนจะครอบงำเศรษฐกิจแทนคนไทใหญ่ภายใต้บังคับของอังกฤษหมดแล้ว ก็จะมีอำนาจเท่ากับที่ชาวจีน กรุงเทพฯ และในเชียงราย มีโรงเรียนจีน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2474 พร้อมทั้งเส้นทางถนนลำปาง-เชียงราย เป็นเส้นทางสำหรับคมนาคมขนส่งสินค้ากระจายไปยังเส้นทางเมืองชายแดนแม่น้ำโขง สัมพันธ์กับบทบาทของพ่อค้าคนจีน
อนึ่ง บริเวณ “แม่น้ำโขง” มีการตั้งด่านตามชายแดนเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองของคนจีน มีน้อยมาก โดยเฉพาะตามเขตแดนไทย ซึ่งติดกับแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2476 แต่ว่าชาวจีน มักนิยมลักลอบเข้าประเทศไทยตามชายแถบชายแดนบริเวณนี้มาก ซึ่งสะท้อนการเข้ามาอีกระลอกของคนจีนในแต่ละช่วงเวลา พร้อมกับปัญหาของภายในประเทศจีนเอง ทำให้คนจีนอพยพเข้ามาในไทย และภาคเหนือ จนกระทั่งรัฐบาลจัดตั้งหอการค้าไทย (และต่อมาปีพ.ศ.2486 กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าควบคุมหอการค้าไทย เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมพ่อค้าไทย และเพิ่มเติมเช่น สมาคมพาณิชย์ของคนจีนโพ้นทะเลในประเทศสยาม เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2505 ชื่อว่าหอการค้าไทย-จีนแห่งประเทศไทย)

ดังนั้น การพิจารณาเพื่อศึกษาTransnationalism จากมุมมองของประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณา(historical ethnography)งานศึกษาทางประวัติศาสตร์ การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนความคิด วัฒนธรรม หากคนท้องถิ่นเป็นชั้นปกครอง และมีสถานภาพทางสังคม และอำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง เช่น ในไทย ชาวจีน พยายามปรับตัวให้เป็นคนท้องถิ่น(assimilate)กลายเป็นคนท้องถิ่น หมายถึงโอกาสในการเลื่อนชนชั้น หรือ สถานภาพทางสังคมนี้ เป็นกระบวนการสร้างพรมแดนทางเชื้อชาติแบ่งแยกระหว่าง คนท้องถิ่นกับคนจีน ที่ต่อมาพัฒนาตัวเอง มีบทบาทในหอการค้าและจะต้องสร้างความร่วมมือพัฒนานโยบายการต่างประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อมิติทางสิ่งแวดล้อม

2.หอการค้ากับพัฒนาการในยุครัฐไทย
คนจีนได้ตั้งหอการค้ามาตั้งนานแล้ว แม้แต่ผู้บริหารชาวจีน หรือนักธุรกิจชาวจีนทั่วไป ไม่ลังเลใจเลยที่จะให้สินบนข้าราชการ และนักการเมืองที่ซื้อได้ด้วยเงิน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกับข้าราชการ ช่วงพ.ศ.2481รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานต่อสภาด้วยความมุ่งหมายจำกัดบทบาทกรรมกร ซึ่งต้องมีผลกระทบต่อแรงงานจีนทั่วประเทศแน่ แต่ว่าร่างพระราชบัญญัตินี้กลับไม่ผ่านสภาโดยเกี่ยวข้องกับหอการค้า จึงสะท้อนการต่อรองของชนชั้นกลางคนจีน และแม้ว่าก่อนหน้านั้น พ.ศ.2479-81จะมีการพยายามรัฐบาลตั้งรัฐวิสาหกิจ บังคับซื้อกิจการโรงสีข้าวขนาดใหญ่ของจีน เพื่อตั้งบริษัทค้าข้าวไทย จำกัด ต่างๆ

เมื่อเปลี่ยนนามประเทศจากสยาม กลายเป็นไทย มีการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งสะท้อนนโยบายการต่างประเทศในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2485-6 ญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง การค้าขัดแย้งกับจีน และปรีดี ถึงขนาดคิดจะพยายามไปตั้งรัฐบาลอิสระทางภาคเหนือ แต่ไม่สำเร็จแล้ว เพราะว่า ความขัดแย้งภายในรัฐบาล และแนวนโยบาย ก็สร้างปัญหาทางการเมืองกีดกันคนจีน โดยได้ประกาศเขตหวงห้ามไม่ให้คนต่างด้าว คือ คนจีน มีภูมิลำเนาอาศัยในเขตท้องที่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่ และอุตรดิตถ์ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการค้าขายของคนจีน ที่ต้องปิดร้านอพยพโยกย้าย และในบางพื้นที่ย้ายภายใน 7 สัปดาห์ จนกระทั่งรอดพ้นการสูญเสียหลังสงคราม เมื่อ พ.ศ.2487 จอมพลป. ต้องลาออกจากตำแหน่ง และผลัดเปลี่ยนตำแหน่งอำนาจนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ขึ้นมามีอำนาจจัดการกับคนจีนแทนอย่างลดความแรงลง เพราะมีการแจกใบปลิวต่อต้านคนไทย ด่าว่า “โจรไทยได้ใช้วิธีการฆ่าพี่น้องเราอย่างไร้เหตุผล”

การกลับมาอีกครั้งของ จอมพลป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ได้ดำเนินนโยบายภายในประเทศทางเศรษฐกิจสังคม มีอุดมการณ์ชาตินิยม เชื้อชาตินิยม(ส่งผลต่อสำนึกพัฒนาการเมือง ที่ไม่ยอมให้มีพลเมืองจีนปนไทย ฯลฯ) ปราบปรามจีนอย่างรุนแรง และเป็นศัตรูอย่างจริงจัง ต่อระบบคอมมิวนิสต์ อีกทั้งมีที่ปรึกษาด้านการคลังเป็นอังกฤษ เช่น ดับลิว.ดี.ลีฟ. และร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และด้านเทคนิค เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหาร และก็ได้แพร่ทุนนิยมอยู่ในอิทธิพลของทหาร และข้าราชการระดับสูง ต่อต้านทุนนิยมจีนในไทยอย่างกว้างขวาง ซึ่งคนจีนในขณะมีประชากรเชื้อสายจีนก็มีจำนวนมาก แต่ว่าอิทธิพลจากภายนอกนั้น นับตั้งแต่ข้อตกลงเจนีวาในปี2497 เมืองขึ้นฝรั่งเศสในอินโดจีนได้รับเอกราชและสามารถเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการเศรษฐกิจ ภูมิภาคซึ่งมีชื่อว่าECAFE (Economic Commission for Asia and the Far East) ภายหลังคณะกรรมาธิการภูมิภาคของสหประชาชาตินี้เรียกชื่อใหม่ว่าESCAPE (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) คณะกรรมการเลยให้มีการก่อตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงขึ้นระหว่างประเทศ มีปัญหาตั้งแต่สงครามในอินโดจีน และกัมพูชา มีปัญหาภายในประเทศ (ดังนั้นแม่น้ำโขงช่วงแรกจากการสนับนุนของอเมริกา ช่วงที่สองสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียของญี่ปุ่น ช่วงที่สาม เป็นประเทศในภูมิภาคนี้ คือ Mekong River Commission หรือ คณะกรรมการแม่น้ำโขง)

ฉะนั้น ปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลกับไทย เหมือนกัน และช่วงระหว่างพ.ศ. 2491-2500 นโยบายที่รัฐพยายามสร้างฐานทางการเมือง เศรษฐกิจของตนก็ตาม แม้ว่าคนจีน ในเชียงราย จะมีการถูกเขียนถึงโดย ส.ส.บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ๓๐ ชาติในเชียงราย ก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็มีกลุ่มเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ เพราะในทางปฏิบัตินโยบายดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จน้อยมาก คนจีนยังคงมีบทบาททางเศรษฐกิจอยู่เหนือกว่าคนไทย แม้กระทั่งตามชายขอบ ชายแดนริมแม่น้ำโขง ด้วย แต่แน่นอนว่ากลุ่มทุนท้องถิ่น พ่อค้าวัวต่างก็ยังมีอยู่กลุ่มทุนในตระกูลวงศ์วรรณ เคยมีอิทธิพลพ่อค้าใน จังหวัดเชียงราย และความเป็นคนจีนอพยพได้เข้าไปทำการค้าในจังหวัดเชียงราย อาทิเช่น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นซากสถาปัตยกรรมโรงบ่มใบยาสูบ ทีอำเภอ เชียงของ และกลุ่มนี้ได้เติบโตทางการทำกิจการยาสูบทั่วภาคเหนือนอกจากเชียงราย และกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับนามสกุล เหล่าธรรมทัศน์(อดีตอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน) กิจการโรงสี [4]ขยายตัวในจังหวัด พะเยา พาน เชียงราย กลุ่มคนจีนเข้ามาอยู่เชียงราย จนกระทั่ง มีการก่อตั้งสร้างโรงสีข้าวแล้ว แต่คนจีนก็ต้องการหาความมั่นคงของตนเอง จึงจัดการก่อตั้ง สมาคมต่างๆ มีประธานหอการค้า ก็เป็นที่ยอมรับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ประชากรเชื้อสายจีนในชั่วอายุแรกที่สองและต่อๆมามองเห็นประโยชน์ และคุณค่าขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่จะให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ และสวัสดิภาพของผู้มีเชื้อสายจีนเท่าๆกับเป็นตัวเชื่อมประสานชุมชนเชื้อสายจีนเข้ากับชุมชนชาวไทย

อย่างไรก็ตาม ในยุคอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาแพร่กระจายต่อต้านคอมมิวนิสต์ สมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ และเป้าหมายการเน้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการยึดนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีตามข้อเสนอของสถาบันระหว่างประเทศ ประกอบกับระหว่างนี้กลุ่มทุนธุรกิจ และขุนนางนักวิชาการ มีการเติบโตอย่างมาก ทำให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนักวิชาการกับข้าราชการทหาร-พลเรือนลดความรุนแรงและประสานเข้าหากันมากขึ้น กลายเป็นหลักกำหนดทิศทาง และนโยบายบริหารประเทศ ต่อมาได้มีแผนพัฒนาฯ ฉบับแรก และนโยบายความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเชิงเศรษฐกิจ และตัดไม้ ทำถนน สร้างเขื่อน โครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ได้กระทำต่อเนื่องมาถึงยุคจอมพลถนอม
โดยต่อมา จอมพลถนอม ถูกขับไล่ตั้งแต่กรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะ อาจารย์ สื่อมวลชน ส่งผลกดดันรัฐบาล ในกรณีรัฐไทยแทรกแซงเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศต่อประเทศเวียดนาม และด้านสิ่งแวดล้อม ต่างๆ และช่วงระหว่าง ปีพ.ศ.2518 ได้มีการค้าไทยกับสามประเทศอินโดจีนภายหลังชัยชนะของคอมมิวนิสต์ ช่วง 2518-2523 เป็นช่วงที่ไทยได้มีการเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศ โดยได้ลดความผูกพันกับสหรัฐอเมริกา และเพิ่มความสัมพันธ์กับค่ายคอมมิวนิสต์ ในสมัยของรัฐบาล [5]

ดังนั้น ความขัดแย้งช่วงปี พ.ศ. 2518-2523 ในประเทศอิทธิพลการเคลื่อนไหวของนักศึกษาหลังจากปัญหาภายในประเทศจากภัยคอมมิวนิสต์ ที่รัฐบาลทหารสืบต่อมาได้สร้างอคติ หลัง 6 ตุลาคม 2519 การเคลื่อนไหวนักศึกษาเชื้อสายจีน เสียอิทธิพลของประชาสังคมไปโดยรัฐบาล สร้างความขัดแย้งนักศึกษาเข้าป่า และกว่าจะออกมาได้ก็มีการช่วงชิงการนำของรัฐ ใช้ความรุนแรงต่างๆ ที่ต่อมามีผู้นำจากทหารที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ เช่น รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ (ได้เดินทางไปพบกับประธานสภาของจีน)ได้ใช้นโยบาย ร่วมมือทางสร้างสันติให้มีอยู่กับเพื่อนบ้าน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจเปิดที่มีเสถียรภาพ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เอื้ออำนวยช่วยทำให้ธุรกิจไทยเจริญเติบโต นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่สืบทอดทัศนคติที่มุ่งการค้าและการส่งออก ชุมชนพ่อค้าเชื้อสายจีนแสวงหาความมั่งคั่งจากการค้ามาโดยตลอด[6] จนกระทั่งช่วง ปีพ.ศ.2524 สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งใช้นโยบายการต่างประเทศ คือ การเป็นมิตรรอบด้าน และเน้นนโยบายการเมืองนำการทหาร จึงเพิ่มความสำคัญกับชนบท ในฐานะฐานที่มั่นในการสกัดกำลังของพคท. และทำให้ชนบทกลายเป็นแหล่งผลิต หรือตลาด ที่มีศักยภาพในการซื้อ โครงการพัฒนาต่างๆที่มุ่งไปสู่ความสนใจในชนบท จนกระทั่ง พ.ศ.2528-2531 ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายกับเวียดนามอีกครั้ง ย่อมสะท้อนถึงปัจจัยภายในของการก่อรูปองค์กรการค้าในหอการค้าที่รวมกลุ่มกันด้วยความแนบแน่น เครือข่ายกับสังคม ในที่นี้ย่อมกล่าวถึงบทบาทหอการค้าเชียงราย ซึ่งทุนท้องถิ่นกำลังก้าวข้ามพรมแดนภายในประเทศมีส่วนร่วมกับนโยบายของประเทศไทยต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง

3.ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ และบทบาทหอการค้าเชียงราย-สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในแม่น้ำโขง
หลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น กลับกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับโลกของกลุ่มประเทศประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองการทหารหมดลง กลายเป็นคอมมิวนิสต์ได้มีสภาพนายทุนมากขึ้น(และในที่สุดนายทุนจีนใหญ่ที่สุด ก็เป็นประเทศจีนปัจจุบันนี้) และมีข้อเสนอทางแนวคิดไม่ว่าจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ การปะทะกันทางอารยธรรม อื่นๆ แต่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมรวมกลุ่มกันเข้าประกาศเขตการค้า และจับมือกันรื้อนโยบายที่เป็นอุปสรรค และกีดกันทางการค้า โลกถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยการคมนาคมและการสื่อสาร พร้อมๆกับการแพร่ขยาย และเชื่อมต่อวัฒนธรรมกันเข้าด้วยความซับซ้อน ทั้งหมดว่ากันว่าโลกกำลังจะจัดระเบียบใหม่ ที่อยู่ภายใต้โลกาภิวัตน์ หลังจากยุคทหารลงไปแล้ว อดีตทหารได้กลายเป็นพลเรือน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น คือ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (ไปสร้างการทูตจีนด้วย)ได้สร้างวาทศิลป์ราวกับวาทกรรม เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ซึ่งเกี่ยวพันกับ กลุ่มนักธุรกิจ ที่สนับสนุนขณะนั้นชนชั้นนักธุรกิจในภาคเหนือสนใจตลาด และวัตถุดิบของจีน โดยมีเงินทุนADB สนับสนุนเงินกู้สำหรับนโยบายนี้ หากพิจารณาในแง่นี้ การเปลี่ยนรัฐชาติสู่รัฐตลาด รัฐโดยตัวมันเองต้องพิจารณากันใหม่ รื้อโครงสร้างในแง่นี้การสร้างรัฐชาติกึ่งจีนกึ่งวัฒนธรรมไทยในช่วงนี้หรือไม่ เพราะการเกาะเกี่ยวธุรกิจ ที่มาของผลประโยชน์ทางกลุ่ม “หอการค้าเชียงราย” กับรัฐนี้ ได้พยายามทุกวิถีทางโดยเปลี่ยนพรมแดนความมั่นคงให้เป็นพรมแดนตลาดนั้น ขบวนแถวนักลงทุน นักตัดป่า-ขุดพลอยของไทยก็พากันเข้าไปในอินโดจีน ด้วยความรู้สึกว่าที่นั่น คือ ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ไทยจะเข้าไปกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2531 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกันโยบายการต่างประเทศตอนหนึ่งความว่า “รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระโดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งดินแดน ตลอดจนพิทักษ์และสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐและผลประโยชน์ของชาติ ทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการขยายตลาดการค้าระหว่างกัน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และไมตรีจิตกับประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ….”
ดังนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อจุดผ่านแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย เปิดใหม่อีกครั้ง และจุดผ่านแดนเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และความเคลื่อนไหวของหอการค้าจังหวัดอุดรธานี นครพนม หนองคาย และบริษัทผู้ต้องการเข้าไปลงทุนต่างๆ [7] ปรากฏการณ์นี้เป็นบทบาทนักลงทุนไทยทำการค้ากับสปป.ลาว สร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และยังเปิดฉากการทูตโดยนายกรัฐมนตรีเยี่ยมเยือนประเทศลาว ต่อมา ช่วง พ.ศ.2534 แทนที่จะมีคนยึดอำนาจทางทหารขึ้นมาบริหารประเทศแบบเดิม ก็มีคนฝ่ายด้านสภาอุตสาหกรรม อาทิเช่น รัฐบาลของ อานันท์ ปันยารชุน ได้มีการแก้ไข หลายต่อหลายเรื่องเป็นการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการแข่งขันของธุรกิจ และอุตสาหกรรมไทยในโลก การนำเอากฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ การลดหรือยกเลิกการปกป้องอุตสาหกรรมไทย ตลอดจนการปรับโครงสร้างตลาดการเงิน ด้วยการออกกฎหมายหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ล้วน แต่ก็สะท้อนเป็นตัวอย่างของแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการลงทุนส่วนใหญ่ของไทยในต่างประเทศ คือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย คือ ฮ่องกง สิงค์โปร์ ดังนี้การขยายตัวของการลงทุนในฮ่องกงส่วนหนึ่งอาจจะใช้ฮ่องกงเป็นทางผ่านสู่จีนตอนใต้(ยูนนาน-แม่น้ำโขง)

จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2535 หลังเหตุการณ์ที่เรียกว่าพฤษภาทมิฬ และภายใต้หลังพฤษภาทมิฬ คนชนชั้นกลางเชื้อสายจีน ที่รู้สึกรับไม่ได้กับความเป็นชาตินิยมไทยลุกมาเคลื่อนไหว ไล่รัฐบาลเผด็จการแล้ว ซึ่งก็นักวิชาการ หลายคนวิเคราะห์ว่า เป้าหมายการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องในตลาดเสรี ไม่นิยมชาติ ก่อให้เกิดการปฎิรูปการเมือง เศรษฐกิจ ภายใต้เสรีประชาธิปไตย
โดย การกลับมาของอานันท์ ปันยารชุน สะท้อนผ่านดัชนีตลาดหุ้น สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ การเงินต่างๆ ด้วย และก่อนตั้งรัฐบาลใหม่ของรัฐบาล ชวน หลีกภัย แต่ว่านอกจากตัวผู้นำทางการเมืองของรัฐไทย คนในพรรค หรือ ทุนสนับสนุนลูกคนจีนมากมาย ในที่สุดพลังของชนชั้นกลาง คือ กลุ่มทุนเป็นผลประโยชน์ของนักธุรกิจ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากกว่าทหารได้นำไปสู่ยุคแห่งการนิยามการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเสียใหม่โดย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และระบบอุปถัมภ์สัมพันธ์กับพรรคการเมือง (นักธุรกิจเริ่มเติบโตเข้าไปค้าขายต่างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น ธุรกิจซีพี และ นักธุรกิจนาม ทักษิณ ชินวัตร ส่งดาวเทียมไทยคม) และ นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ปฏิบัติโดยกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนโยบายนี้ประจวบเหมาะกับสถานการณ์การปรับปรุงนโยบายของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงประเทศอื่นในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ได้ ปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจหันกลับมาร่วมมือกัน เช่น หอการค้าไทย จะเข้าไปสอนกัมพูชา ตั้งหอการค้าในกัมพูชา

กระนั้นการใช้นโยบายการต่างประเทศปูทางแก่นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิภาคอินโดจีน รัฐบาลอานันท์ก็สนับสนุนการค้าเสรี ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น ผนวกกับการขยายตัวของการสื่อสาร ขนส่ง และระบบโลกการค้า โลกาภิวัตน์ พร้อมกับการประสานนโยบายร่วมกันกับนานาประเทศในเอเชีย เพื่อผลักดันการสร้างเขตการค้าต่างๆโลกทั้งโลกกำลังถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไร้พรมแดนกำแพงกีดขวางอีกต่อไปการจัดแบ่งปริมณฑลทั้งระดับโลก(สังคมนิยม-ประชาธิปไตย)และภูมิภาคโลก(รัฐชาติ-รัฐชาติ)

อย่างไรก็ดี ในอีกแง่หนึ่งเส้นพรมแดนแบบเก่ากำลังลบหายไป พรมแดนที่เป็นอำนาจของรัฐชาติที่ขยายไปถึง ตัวของมันเองก็เป็นอำนาจด้วยพรมแดนจึงไม่ใช่องค์กรอิสระที่แยกตัวออกจากโครงสร้างสังคมอย่างสิ้นเชิง ในทางตรงข้ามกลับผูกติดเชื่อมกับสังคมอย่างแนบแน่น การก่อรูป การไหวตัว และเปลี่ยนแปลงพรมแดนในแต่ละครั้ง จึงหมายถึงภาพสะท้อนรูปลักษณ์หนึ่งและนโยบายการค้าเสรี หรือ เขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ทุน แรงงาน สินค้า และตลาด เปิดออกและโยกย้ายกันอย่างอิสระนั้น เมื่อด้านหนึ่งก็คือการก้าวข้ามพรมแดนชาติไปอย่างเสรี อีกด้านหนึ่งพรมแดนก็กำลังถูกลบเลือนไปโดยเฉพาะการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

พรมแดนเส้นแบ่งที่ลากผ่านไปบนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างขอบเขตและเป็นสัญลักษณ์อำนาจของรัฐชาติ ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับแม่น้ำโขง บนพื้นผิวโลกนี้ที่ประกอบด้วยภูเขาและ อื่นๆ นอกจากเป็นเส้นแบ่งทางภูมิศาสตร์ยังถูกใช้เพื่อการตอกย้ำแบ่งเขาแบ่งเราในความรู้สึกคนที่มีอุดมการณ์ของชาตินิยม ครอบงำข้ามาด้วย และตอกย้ำด้วยความมั่นคงต่อการพัฒนาประเทศไทย จนเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพรมแดนชาติในโลกาภิวัตน์ ที่มีความร่วมมือทางภูมิภาคหรือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

มื่อรัฐบาลของประเทศเหล่านี้เป็นศัตรูกันหรือเหินห่างกันเช่นนี้ผลคือบริเวณชายแดนของแต่ละประเทศถูกปิดโดยกฎหมาย คนไทยต้องกลายเป็นศัตรูต่อกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีอุดมการณ์ และระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ในดินแดนแถบชายแดนที่ห่างไกลอำนาจรัฐเช่นนี้ ความเป็นศัตรูต่อกันย่อมมีน้อยเพราะนโยบายและอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันมิใช่สิ่งที่คนไทหรือคนบนภูเขาในเขตชายแดนเป็นผู้สร้าง แต่เมืองหลวงกับชาติมหาอำนาจเป็นคนสร้างความขัดแย้งดังกล่าว

สิ่งที่คนในแถบชายแดนทำได้ก็คือ ไม่เป็นศัตรูต่อกัน แต่ก็ไปมาหาสู่กันน้อยลง ขณะเดียวกัน ระบบวิทยุโทรทัศน์ และไฟฟ้าก็ยังมิได้แพร่หลายไปถึงบริเวณชายแดน การเผยแพร่วัฒนธรรมจากเมืองหลวง และวัฒนธรรมระดับโลกยังมีน้อย ผลก็คือวัฒนธรรมแบบชายแดนยังมีอยู่มาก 30กว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่วัฒนธรรมชายแดนจึงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างโดดเด่น ขณะที่วัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วๆไปถูกวัฒนธรรมระดับโลกและระดับชาติครอบงำมากขึ้นตามลำดับ

ผลกระทบของการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อวัฒนธรรมชายแดน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองระดับสากลส่งผลให้รัฐต่างๆเป็นศัตรูต่อกัน บริเวณชายแดนเหล่านี้จึงถูกตัดขาดจากการสื่อสารเป็นเวลานาน แต่สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมากนับตั้งแต่ประเทศสังคมนิยมทั้งหลายหันมายอมรับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และพรรคคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐประสบภาวะล้มละลาย พร้อมๆกับการเติบโตของพลังเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในรับที่หันหลังให้กับลัทธิสังคมนิยม

โดย จะเห็นได้ว่าปมเงื่อนของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ คือ การนำเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้าไปในบริเวณชายแดน การเข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างขนานใหญ่หลังจากที่เคยใช้น้อยมาในอดีต เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การทำฟารม์ขนาดใหญ่เพื่อขายสินค้าเกษตรแก่ตลาดหรือป้อนเข้าโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร การขายสินค้านานาชนิดทั้งสินค้าที่ผลิตได้ในเขตชายแดน เพราะเหตุดังกล่าว เกี่ยวข้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการค้าของท้องถิ่น ส่วนใหญ่ถูกดูดกลืนหรือทำลายไปโดยวัฒนธรรมแห่งชาติและวัฒนธรรมระดับโลกไปแล้ว

กระนั้น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทำให้เราพบว่าวัฒนธรรมระดับโลกและวัฒนธรรมระดับชาติเติบโตขึ้นมาก และได้เข้าไปมีบทบาทครอบงำวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปรเป็นวัฒนธรรมระดับชาติและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษต่อไปนี้ สำหรับดินแดนสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจอันเป็นช่วงเวลา ที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจจะได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ ก็คือวัฒนธรรมโลก และวัฒนธรรมชาติจะแพร่ขยายรุกเข้าไปในบริเวณชายแดนอย่างมากมาย หลังจากที่เข้าครอบงำวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เพราะรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในประเทศไทยคือ เชียงรายในฐานะเมืองหน้าด่านได้กลายเป็นเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกี่ยวพันหอการค้าเชียงรายมีบทบาทสำคัญด้วย

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการแม่น้ำโขง ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในแม่น้ำโขงด้วย เพราะ ประเทศสมาชิก ในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ก็อยู่ในคณะกรรมการแม่น้ำโขงที่มีปัญหาได้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในประเทศแล้ว ก็กลับมาร่วมมือกันใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งประเทศไทย เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคนี้ เพราะนักลงทุนไทยได้เข้าไปเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน

หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ว่าผลกระทบของโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจต่อประเทศไทย จะมีผลกระทบทางบวกจะเป็นผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมีสภาพคล่องตัวมาก การส่งสินค้าออกและแลกเปลี่ยนสินค้า ใช้แรงงานต่างชาติ มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม แต่ผลกระทบทางลบการแพร่ระบาดยาเสพติด ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาด้าน สาธารณสุขรวมถึงวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

แม้ว่าปัญหาของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจได้เข้ามาถึงยังชายแดนและจังหวัดภาคเหนือ ผลกระทบจากเขื่อนในจีน ลาว การสร้างท่าเทียบเรือทางด้านสังคมเชียงของ จังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบจากการที่คนต่างถิ่นอพยพเข้ามาในท้องถิ่นมากขึ้น ลงทุนทำธุรกิจหางานทำมากขึ้น ซึ่งนับแต่มีโครงการ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ การสร้างท่าเทียบเรือรองรับเป็นเมืองท่าชาวไทยจากท้องถิ่นอื่นหรือชาวต่างด้าวที่เข้ามารับจ้าง นอกจากผลกระทบลักลอบเข้ามาของคนต่างด้าวและยาเสพติด ปัญหาการจราจรจำนวนนักท่องเที่ยว และรถบรรทุกขนสินค้า ผลจากการสร้างท่าเรือเป็นเมืองท่า ทำให้รัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกด้วย นอกจากนี้รัฐพยายามผลักดัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสัมพันธ์กับGMS พัฒนาภาคเหนือตอนบนระยะ10 ปี (พ.ศ.2542-2551)ดำเนินการภายใต้ กรอบนโยบายการพัฒนาประเทศตามการพัฒนาวางแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1.ปรับตัวในพื้นที่เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก 2.การเสริมสร้างศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
3.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 , 4.การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกจากสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแล้ว ที่มีการสร้างชื่อใหม่ๆ ว่า หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่างๆ สัมพันธ์ต่อข้อตกลงทางการค้า แม้ว่าเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 และการปฏิรูปการเมือง มีความเคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่สิ่งที่ทำให้คนจีนไทย ชนชั้นกลางไทยรู้สึกหวาดกลัว และรู้สึกชาตินิยมขึ้นมาบ้าง หลังจากโดนค่าเงินถล่มทลาย แต่คนจีนไทย ชนชั้นกลาง บริษัทหอการค้าก็ยังคงกลับมาแสดงสายเลือดความผูกพัน กับเพื่อนบ้านว่า เป็น “ไท” มีความผูกพันกับลาว พี่น้องกัน จีน ฯลฯ เพียงแค่ผลประโยชน์ของชาติ เปลี่ยนตามการลื่นไหลของผลประโยชน์ ไม่ใช่ชาติที่แท้จริง การเมืองเรื่องของความเป็นไทย ถูกสร้างจินตนาการชาติขึ้น และความเป็นไทย และ “ไท”(ไทลื้อสิบสองปันนาในจีน ที่เคยถูกตั้งข้อรังเกียจ กับดูดีมีวัฒนธรรมชวนน่าท่องเที่ยวหลงใหล ยุคโลกาภิวัตน์) การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมไทย ไทยจีน ฉาบหุ้มไม่มีคนอื่น ฉวยโอกาสเข้าไปทำธุรกิจตัดไม้ใช้ทรัพยากรป่าของเพื่อนบ้านด้วย และทรัพยากรน้ำกำลังจะถูกผลกระทบกับประเทศจีนสร้างเขี่อนในจีน และสะเทือนถึงประเทศเพื่อนบ้าน แต่ว่าทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยก็ยังพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทั้งสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แต่ต้องปรับตัวตามกลไกองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank-ADB)

หลังวิกฤติเศรษฐกิจได้มีนิยาม สร้างความหมายของการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันดังกล่าว รวมถึงกระแสของพ่อค้า นักธุรกิจไทย-บทบาทหอการค้าก็ยังคงยกขบวนเข้าไปร่วมทำการค้าในประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งหอการค้าจังหวัดเชียงราย นำโดย"เสริมชัย กิตติรัตนไพบูลย์" ประธานหอการค้าจังหวัดฯ ที่มุ่งมั่นผลักดันให้เชียงรายเป็นประตูการค้าเชื่อมจีนตอนใต้มาอย่างต่อเนื่องคนหนึ่งแน่นอน เนื่องจาก "เสริมชัย" ดำรงตำแหน่งครบ 2 วาระแล้ว ถึงคราวที่จะต้องแตะมือเปลี่ยนคนทำงานโดยกลุ่มทุนท้องถิ่น ทั้งมีตำแหน่งกรรมการหลายฝ่ายที่น่าจะเลือกเกี่ยวข้องกลุ่มทุน แน่นอนว่า หอการค้าฯเชียงราย ในยุคต่อไปนี้ หนีไม่พ้นที่จะต้องจับจ้องกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย - นิคมอุตสาหกรรม - ประตูการค้าสู่จีนตอนใต้ ตลอดจนการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน จากไทย สู่พม่า ลาว จีน เป็นต้น

กระนั้น ส่วนทางพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล พ.ศ.2544-2549 แม้ว่าจะมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เน้นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545-2549 แต่ว่าการดำเนินการนโยบายการต่างประเทศที่เน้นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจแบบ win-win เท่านั้นยังไม่เพียงพอกับประเทศในลุ่มน้ำโขง

ดังนั้น แนวการวิเคราะห์ว่า กลุ่มผลประโยชน์ สะท้อนนโยบายสาธารณะของไทยขึ้นอยู่กับอิทธิพลหอการค้าเชียงราย ถือเป็นตัวผลักดันสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และหากใช้มุมมองทฤษฏีการเมืองเกี่ยวพัน(Linkage politic) ที่มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก อันเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของประชาชนในประเทศไทยที่ส่งผลต่อการเลือกพรรคที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และผลกระทบจากภายนอกประเทศ พวกองค์กรข้ามชาติได้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้นำประเทศในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะระบบการเลือกตั้งเปลี่ยนพรรคการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ
ในที่สุด นอกจากบทบัญญัติ ที่มีสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไทย และสิทธิชุมชนของวัฒนธรรมชุมชน ที่มีการสร้างจิตสำนึกกับชาวบ้าน และการประชาสัมพันธ์ร่วมกันขององค์กรชาวบ้านกับกลุ่มเอ็นจีโอ โดยเชิญคนเฒ่าคนแก่ไป เสวนาเรื่อง เกี่ยวกับปัญหา ระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง และเขื่อนต่างๆ ซึ่งความร่วมมือกัน จะต่อต้านการทำลายทรัพยากร ซึ่งจะช่วยให้เกิดประเด็นหาทางก้าวไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขง โดยบทบาทของชุมชน มีต่อประเทศสปป.ลาว รวมทั้งในประเทศลุ่มน้ำโขง จะสร้างองค์ความรู้ทางการวิจัยกับชาวบ้าน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งของการพัฒนาต่อสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และสะท้อนปัญหาการเดินเรือสินค้าจีนจากเชียงแสน ที่คาดว่าจะขยับขยายเส้นทางการเดินเรือมาถึงเชียงของ
กระนั้น ในส่วนคติเดิม เกี่ยวกับการตั้งวัด ที่หันหน้าเข้าแม่น้ำโขงตามคติจักรวาลเกี่ยวกับคติความเชื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน เชื่อมโยงสัมพันธ์ทางเรือ ซึ่งไม่รบกวนทำลายธรรมชาติ แต่ว่าเรือสินค้า และเรือท่องเที่ยวไทย-ลาว ก็ทำให้คราบน้ำมันกระจัดกระจาย เกิดคราบสกปรกแก่แม่น้ำโขง แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ ซึ่งระบบช่วยเหลือให้ความยุติธรรมไม่ได้แล้ว ซึ่งกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มรักษ์เชียงของ ก็พยายามหาแนวทางการเรียกร้องเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งสันติวิธี และหาทุนทำวิจัยศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งเพื่อหาทางต่อรองกับรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมต่อโครงสร้างการเมือง และการพัฒนาที่คนละด้าน เช่น ด้านของหอการค้าเชียงรายก็สนับสนุนการเดินเรือสินค้า เป็นต้น

4.สรุป
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในประเทศ เป็นประเด็นสำคัญต่อการสร้างนโยบายระหว่างประเทศของไทย อันมีปัญหาโดยรวมถึงหอการค้าเชียงรายนี้ สะท้อนระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชา ลาว ฯลฯ กัน แค่เพียงผลประโยชน์ของชาติทางเศรษฐกิจเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการสร้างความร่วมมืออย่างยั่นยืน ไม่ได้เป็นตามกรอบการวิเคราะห์ของแนวทางการสร้างความร่วมมือกันการรวมกลุ่มและภูมิภาคนิยม และถ้าวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบGlobalism ก็จะพบว่ารัฐไทย และสังคม มีตัวแสดงอันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แค่เอื้อผลประโยชน์ต่อผลประโยชน์ทางชนชั้นสัมพันธ์กับพรรคการเมืองของรัฐบาลเท่านั้นหรือไม่ก็ตาม แต่ความเป็นจริงของสถานการณ์องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์กลุ่มทุนนิยม ที่เข้าไปเอารัดเอาเปรียบโดยใช้อำนาจทางตรงกับทางอ้อมผ่านทางรัฐของกลุ่มทุนเข้าไปทำร้ายประเทศอื่น แต่สภาพการณ์ของความเคลื่อนไหวของไทยเอง ที่อยากเป็นรัฐ ที่มีอำนาจคุมในภูมิภาคก็ควรตระหนักถึงบทบาทองค์กร เช่น หอการค้าเชียงราย และอย่าลืมว่าความสัมพันธ์แค่เพียงการค้าไม่เพียงพอ ควรมีมิติทางสิ่งแวดล้อมด้วย



5.กิติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ ผู้จัดงาน ม.อ. ภูเก็ตวิจัย ครั้งที่ 1 เรื่อง การประชุมวิชาการสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง
[1]ปรับปรุงจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลกระทบของการพัฒนาและโลกาภิวัตน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำโขงตอนบน:การหายไปของปลา คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548
[2] ผานิต รวมศิลป์. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ.2481 ถึงพ.ศ.287 วิทยานิพนธ์อักษรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2521 :87-88
[3] ภูวดล ทรงประเสริฐ นโยบายของรัฐบาลที่มีต่อชาวจีนในประเทศไทย(พ.ศ.2475-2500) วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2519:27
[4]วารสารชุดภูมิภาคศึกษา รวมบทคัดย่อและข้อเขียนอาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท ภูมิภาคศึกษา ปีที่1 ฉบับที่ 1/2549:80
และ Akkaphon Satum.(2549) Impact of Development and
Globalization on Natural Resources in the Upper Mekong
River:TheDecline of Fish. บทความนำเสนอ ในงาน First
ASEAN Graduate Scholars Workshop Organised By Asia
Research Institute, National University of Singapore, Singapore
28 – 29 July 2006. พ่อค้ากับการพัฒนาการเศรษฐกิจ:ลำปาง
พ.ศ.2459-2512 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาการปกครอง ภาคนิพนธ์ ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต
:102-103 และ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ๓๐ ชาติใน
เชียงราย
[5]สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. ขุมทองอินโดจีน.สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น 2537 : 26-28
[6]ผาสุก พงษ์ไพจิตร เศรษฐกิจการเมืองสมัยกรุงเทพฯ : 684
[7] การอ้างเรื่องสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเปิดพื้นที่ให้คนชายขอบ แนวทางการอธิบายของAndrew Walker โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ เชียงของ ชาติพันธุ์ และการค้าที่ชายแดน รายงานการวิจัยภายใต้โครงการ “อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย สนับสนุนโดยสกว. 2548 : 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น